top of page


ประวัติสโมสรซอนต้าสากล
ซอนต้าสากลเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ให้บริการด้านสาธารณกุศล แต่ไม่มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ (Non-Government Organization หรือ NGO)
มุ่งยกระดับสถานภาพของสตรีทางกฎหมาย เศรษฐกิจ และอาชีพประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นสตรีระดับบริหารในอาชีพต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำและอุทิศเวลาให้แก่สังคม ซอนต้าสากลได้รับเกียรติอย่างสูงจากสหประชาชาติให้เป็นที่ปรึกษาของยูนิเซฟ (UNICEF), อีโคช็อค (ECOSOC), ยูเนสโก (UNESCO), ไอแอลโอ (ILO) และยังเป็นที่ปรึกษาของสภาแห่งยุโรป (Council of Europe) มีสมาชิกอยู่ทั่วโลกประมาณ 35,000 คน จาก 1,200 สโมสร ใน 67 ประเทศ
ชื่อซอนต้ามาจากคำภาษาอินเดียแดงเผ้าซู (Sioux Indian) หมายถึงความซื่อสัตย์ สุจริตและวางใจได้ สัญลักษณ์ของสโมสรประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ รวมกันภายใต้ความหมาย "รวมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน" โดยสมาชิกของสโมสรซอนต้าเรียกว่า ซอนเชี่ยน (Zontian) สีประจำสโมสรซอนต้าคือสีน้ำตาลเปลือกไม้และสีทอง (Mahogany and Gold) ดอกไม้ประจำสโมสรคือดอกกุหลาบสีเหลือง
ซอนต้าสากลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919 ที่เมืองบัฟฟาโลมัลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สมาชิกภาพมาจากการรับเชิญ เนื่องจากได้ผ่านการกลั่นกรองแล้วว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติเป็นผู้นำเคยได้รับโอกาศอันดีจากสังคมในการประกอบธุรกิจหรือรับราชการจนได้รับผลสำเร็จในชีวิต ถึงเวลาที่จะเสียสละสิ่งที่ตนเคยได้รับให้แก่สังคมบ้าง จึงรวมตัวเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่า "สโมสร" เพื่อรวมกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
การบริหารงานแบ่งออกเป็นภาค (District) ในภาคแบ่งออกเป็นเขต (Area) ในเขตแบ่งเป็นสโมสร (Club) ในสโมสรมีผู้บริหารหลักคือ นายกสโมสร นายกรับเลือก อุปนายก เหรัญญิก เลขาธิการ และประธานฝ่ายต่างๆ ตามกฎและระเบียบข้อบังคับของซอนต้าสากล
สโมสรซอนต้าในประเทศไทย จัดอยู่ในเขต 6 ภูมิภาค 17 โดยปัจจุบันมี 15 สโมสร เรียงตามลำดับการก่อตั้งคือ สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 1, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 2, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 3, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 4, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 5, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 6, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 7, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 8, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 9, สโมสรซอนต้ากรุงเทพ 10, เป็นต้น
มูลนิธิซอนต้าสากลและกองทุนต่างๆ
Zonta International Foundation
มูลนิธิซอนต้าสากลถูกจัดตั้งขึ้นจากการอนุมัติ ในการประชุมใหญ่ เมื่อปี ค.ศ. 1984 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบริหาร จัดสรรและจัดหาทุนและเงินช่วยเหลือต่างๆ ผู้บริหาร มูลนิธิ ประกอบด้วยกรรมการ 9 ท่าน ซึ่ง 2 ใน 9 ท่านนี้คือ “นายก" (International President) และ "นายกรับเลือก" (International President-Elect) กองทุนต่างๆ ที่บริหาร โดยมูลนิธิฯ แบ่งตามประเภทการใช้งานเป็น 4 ประเภท และทั้งหมด 8 กองทุน
1. "International Service Programs" สนับสนุนโดย "INTERNATIONAL SERVICE FUND" กองทุนนี้เป็นแหล่งสนับสนุนโครงการสาธารณกุศลเพื่อสตรีทั่วโลก
2. "International Strategies to Prevent Violence Against Women" สนับสนุน "ZISVAW FUND" กองทุนนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1998 เพื่อให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ เพื่อยุติการกระทำรุนแรงต่อสตรีและเด็ก สโมสรซอนต้าสากลทั่วโลกที่มีโครงการลักษณะนี้สามารถขอรับการสนับสนุนจากกองทุนนี้ได้
3. "Educational, Leadership and Youth Development” สนับสนุนโดยกองทุนดังต่อไปนี้ "Amelia Earhart Fellowship Fund" อมิเลีย เอียฮาร์ท เป็นซอนเชี่ยนที่มีความสามารถโดดเด่น เธอเป็นนักบินสตรีคนแรกที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทร 9 แอตแลนติก และเป็นคนแรก ที่บินรวดเดียวจากฝั่งทะเล ตะวันตกสู่ฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปอเมริกา นอกจากนี้ ยังทำสถิติการบินอื่นๆ อีกหลายอย่าง เธอหายไปพร้อมกับ เครื่องบินขณะพยายามบินรอบโลกหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงความเก่งกล้าสามารถของ เธอ ในปี ค.ศ.1938 สโมสรซอนต้าสากลจึงจัดตั้งกองทุน ขึ้นเพื่อมอบเป็นทุน "Amelia Earhart Fellowship Fund" ขึ้นเพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาแก่สตรีในระดับการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิทยาศาสตร์อวกาศ และวิศวกรรมอวกาศ หรือวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยให้การสนับสนุนการศึกษาปีละ 35 ทุน ทุนละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้สนใจเข้ารับทุนจะต้องส่งใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังมูลนิธิซอนต้าสากล ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ของแต่ละปี ทั้งนี้มีนักศึกษาจากประเทศไทยได้รับทุนนี้แล้ว 3 ท่าน
4. "Jane M. Klausman Women in Business Scholarship Fund” เจน เอ็ม คลอสแมน เป็นซอนเชี่ยนผู้ประสบความสำเร็จ ในชีวิตอย่างสูง โดยเริ่มจากอาชีพเลขานุการ และต่อมาภายหลัง ประกอบธุรกิจส่วนตัว เธอได้ทำพินัยกรรมมอบทุนให้แก่มูลนิธิ ซอนต้าสากล เพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่สตร์ในระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ กองทุนนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1997 โดย ให้การสนับสนุนการศึกษาปีละ 5 ทุน ทุนละ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้สนใจเข้ารับทุนนี้จะต้องส่งใบสมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยัง District Governor ภายในวันที่ 1 มิถุนายนของแต่ละปี
5. "Young Women in Public Affairs (YWPA) Fund” กองทุนนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 เพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่สตรีใน ระดับก่อนปริญญาตรี โดยเน้นสตรี ที่มีความโดดเด่นในด้านการ เป็นผู้นำและต้องการก้าวไปสู่การทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ กองทุนนี้ให้การสนับสนุนใน 2 ระดับ คือ "ระดับภาค" (District) รางวัลละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ "ระดับสากล” (International) รางวัลละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้สนใจเข้ารับทุน จะต้องส่งใบ สมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยัง District Governor ภายในวัน 1 เมษายน ของแต่ละปี
6. "Zonta International Operations” สนับสนุนโดยกองทุน "Rose Fund" กองทุนนี้ สนับสนุนการบริหารและธุรการของมูล นิธิซอนต้าสากล รวมทั้งสนับสนุนโครงการต่างๆ ของสโมสร ใน กรณีที่กองทุน
7. "World Headoarters Property Preservation & Improvement (WHPPI) Fund มูลนิธิซอนต้าสากลได้ซื้ออาคารที่ทำการ Zonta International Headquarter ในปี ค.ศ.1986 ต่อเนื่องจากเป็นตึกเก่าจึงต้องมีการปรับปรุง ดังนั้นกองทุนนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงช่อมแซม รวมทั้งดู่แลรักษาอาคารที่ทำการนี้
8. Endowment Fund" กองทุนนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ 1988 โดยมีนโยบายให้มูลนิธิซอนต้าสากล นำเฉพาะผลกำไรที่ได้จากการ บริหารกองทุนไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมเฉพาะตามความ ประสงค์ของผู้บริจาค โดยให้คงไว้ซึ่งเงินต้นที่ได้รับบริจาค
bottom of page